ส่อง การเมืองเกาหลีใต้ผ่านซีรีย์
การเมืองเกาหลีใต้ผ่านซีรีย์ Designated Survivor: 60 Days เป็นซีรีส์เกาหลีที่ออกอากาศทั้งทาง tvN และ Netflix เกี่ยวกับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม Park Moo-jin (Ji Jin-hee) ที่วันหนึ่งเกิดระเบิดขึ้นในอาคารรัฐสภา บรรดารัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงรวมถึงประธานาธิบดีเสียชีวิตแล้ว จึงเหลือเพียงเขาที่ยังมีชีวิต ทำให้ต้องมาทำหน้าที่รักษาการแทน ในระยะเวลา 60 วันนี้ เขาต้องนำพาประเทศให้พ้นวิกฤตให้ได้ ซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากซีรีส์อเมริกันในชื่อเดียวกัน โดยยังคงแนวคิดเดิม แต่ปรับเนื้อหาและวิธีการนำเสนอให้เข้ากับบริบทของสังคมเกาหลีใต้ การเมืองเกาหลีใต้ผ่านซีรีย์ Designated Survivor การเมืองเกาหลีใต้ผ่านซีรีย์ ผู้รอดชีวิตที่ได้รับการแต่งตั้ง (Designated Survivor) หรือแปลตามตัวอักษรว่าถูกกำหนดให้มีชีวิตรอด มีต้นกำเนิดมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา หมายถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือรัฐมนตรีที่อยู่ในสายการสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาซึ่งถูกจัดให้อยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง ถ้าประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี และรัฐมนตรีทั้งหมดมารวมกันในที่เดียวกัน เช่น การกล่าวนโยบายประจำปีต่อรัฐสภา หรือวันรับตำแหน่งประธานาธิบดี เผื่อว่าวันนั้นจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ผู้ที่ถูกชี้ชะตาว่าจะรอดจะได้เป็นรักษาการประธานาธิบดีทันที เพราะตำแหน่งหัวหน้าสายบริหารอาจไม่ว่างลง เนื่องจากเกาหลีไม่ได้แถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐของสหภาพเช่นสหรัฐอเมริกา จึงไม่ได้กำหนดผู้รอดชีวิต เนื้อหาของเวอร์ชั่นเกาหลีจึงปรับให้ Park Mu-Jin เอาตัวรอดคนเดียว ในวันเกิดเหตุไม่ได้อยู่ที่อาคารรัฐสภา เพราะก่อนหน้านี้ไม่กี่ชั่วโมงเขาถูกให้ออกจากตำแหน่ง […]
ทำไมคนไทย ชอบดูซีรีย์เกาหลี
จากบทความเรื่อง ย้อนรอยซีรีส์ เกาหลีจากจอแก้วสู่ Application คงทำให้ผู้อ่านหลายท่านคิดถึงซีรีส์เกาหลีที่เคยดูหรือที่กำลังดูในปัจจุบัน แน่นอนว่าเสน่ห์ของความเป็นเกาหลีสามารถดึงดูดให้หลงรักและติดตามได้ตั้งแต่เริ่มเรื่องถึงตอนสุดท้าย บางครั้งก็ทำให้เราติดอยู่ในภวังค์ของเรื่องที่ดูไปตลอดเดือนรู้ตัวอีกทีก็ตัดสินใจซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อมาตามรอยสถานที่ถ่ายทำต่าง ๆ ของซีรีส์เรื่องนั้นไปเสียแล้ว แล้วทำไมคนไทยถึง ชอบดูซีรีย์เกาหลี ? จากงานวิจัยของ ผศ.ดร.นพปฎล อินทร์จันทร์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ: ภาพยนตร์ซีรีส์เกาหลี: กรณีศึกษาความคลั่งไคล้วัฒนธรรมเกาหลีในสังคมไทย ได้ให้คำตอบ ดังนี้ ชอบดูซีรีย์เกาหลี เพราะ การวางโครงเรื่อง คนดูส่วนใหญ่ ชอบดูซีรีย์เกาหลี ชอบเทคนิคการวางโครงเรื่อง (Plot) โดยเฉพาะซีรีย์ที่เกี่ยวกับความรัก เนื้อหาไม่ซับซ้อน มีปัญหาหลักๆ เพียงข้อเดียว ลักษณะการดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง ค่อยๆ วางทีละน้อยจนมาถึงจุดพีคของเรื่อง ซึ่งละครเกาหลีส่วนใหญ่มักจะปลุกเร้าผู้ชมให้เกิดอารมณ์รัก สงสาร โกรธ เกลียด ผ่านการกระทำของตัวละครและโครงเรื่อง การนำเสนอเรื่องราวผ่านละครเกาหลีมักสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม การละเมิดสิทธิมนุษยชน การแบ่งชั้นทางสังคม สิทธิสตรี อุดมคติเกินจริง และความรักระหว่างชนชั้นมีลูกเล่นที่เกี่ยวข้องกับโครงเรื่องที่ผูกโยงกับความลับของเรื่อง องค์ประกอบของซีรีส์ สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือฉาก […]
ย้อนรอยซีรีส์ เกาหลีจากจอแก้วสู่ Application
ย้อนรอยซีรีส์ คุณยังจำได้ไหมว่าละครเกาหลีเรื่องแรกที่คุณดูคือเรื่องอะไร? และยังจำได้ดีว่าเราเสียน้ำตาให้กับซีรีส์เกาหลีไปกี่เรื่องแล้ว? วันนี้ Shining Media จะพาทุกคนย้อนรอยการเข้ามาของวงการซีรีส์เกาหลีในเมืองไทยจนพัฒนาช่องทางการรับชมซีรีส์ผ่าน TV Application ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2543 ซีรีส์เกาหลีเรื่องแรกที่ออกอากาศในประเทศไทยคือ Wish upon a Star ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (ททบ.5) เมื่อซีรีส์เรื่องนี้จบลง การพูดถึงซีรีส์เกาหลีก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเป็นช่วงที่ซีรีส์ญี่ปุ่นและจีนครองตลาดในไทย แต่ด้วยเนื้อหาซีรีส์เกาหลีที่โดนใจคนไทยและฝีมือการแสดงของนักแสดงที่ถึงจุดนี้สามารถเรียกน้ำตาคนดูได้ ซึ้งกินใจกับความรู้สึกของตัวละครเสมือนตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน ปี พ.ศ. 2544 เป็นปีแห่งกระแสความนิยมอย่างแท้จริงสำหรับละครเกาหลี และกลายเป็นที่พูดถึงในค่ำคืนนี้ เมื่อ ITV นำเสนอ “ละครเกาหลี” รักนี้ชั่วนิรันดร์ (Autumn in my heart) จนมีคำติดปากจากเรื่องนี้ว่า “พี่” และเรียกน้ำตาคนดูได้อย่างท่วมท้นเช่นเคย ดูเหมือนว่าช่วงแรกๆ ซีรีส์เกาหลี บุกตลาดไทย ซีรีส์แนวน้ำตาจะไหลถูกใจคนไทยไม่น้อย แต่ในปี 2545 ซีรีส์เกาหลีที่ออกอากาศในไทย 3 เรื่องกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเพราะเนื้อหาสนุก และไม่เครียดเหมือนเรื่องที่แล้ว จึงทำให้ความนิยมลดน้อยลง ในปีต่อมา พ.ศ. […]